ร้อง “ประยุทธ์” เร่งแก้นำเข้าข้าวสาลี “ประพัฒน์” อัด รมว.พาณิชย์บริหารงานผิดพลาด

ร้อง “ประยุทธ์” เร่งแก้นำเข้าข้าวสาลี “ประพัฒน์” อัด รมว.พาณิชย์บริหารงานผิดพลาด

“ประพัฒน์” ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติเบรกแตก อัดรัฐมนตรีพาณิชย์ทำหนังสือให้แก้ไขปัญหาการนำเข้าข้าวสาลีที่สร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าวหลายครั้งกลับนิ่งเฉย ฟังแต่ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ ชี้บริหารงานผิดพลาดอย่างร้ายแรง

จากกรณีผู้ผลิตอาหารสัตว์ในไทยมีการนำเข้าข้าวสาลีจำนวนมากมาผลิตอาหารสัตว์ ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังและชาวนาหลายล้านคนขายผลผลิตในราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ล่าสุด ชาวไร่มันสำปะหลังขายหัวมันสดได้เพียง 0.80-1.20 บาท/กก. ขณะที่ต้นทุนการผลิต 1.91 บาท/กก. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่แห้งแล้วชาวไร่ขายได้เพียง กก.ละ 4.50-5.50 บาท ขณะที่มีต้นทุนการผลิต กก.ละ 6.81 บาท

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ล่าสุดสภาเกษตรกรฯได้ทำหนังสือเรื่องความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ผลิตพืชเศรษฐกิจหลักของไทย ทั้งข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลังถึงนายกรัฐมนตรีแล้ว เพื่อขอให้ชะลอการนำเข้าข้าวสาลีซึ่งอยู่ในรายการสินค้าและบริการควบคุมปี 2559 ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 ม.ค. 2559 โดยให้มีการกำกับดูแลการนำเข้า ไม่ให้กระทบต่อราคาข้าวโพดและมันสำปะหลังในประเทศ การขอให้ผลักดันการนำผลผลิตพืชคาร์โบไฮเดรตในประเทศ ประกอบด้วยรำข้าว 1.425 ล้านตัน ปลายข้าว 2.375 ล้านตัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4.57 ล้านตัน มันเส้น 2 ล้านตัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน 1.6 แสนตัน รวม 10.53 ล้านตันมาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาไม่ให้ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกรและเพียงพอต่อการครองชีพ และขอให้มีผู้แทนเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตพืชคาร์โบไฮเดรตร่วมในคณะทำงานวางแผนการผลิตและการตลาด วัตถุดิบอาหารสัตว์ครบวงจร เพื่อรักษาผลประโยชน์ที่อาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกพืชคาร์โบไฮเดรตในไทย

ปี 2559 อุตสาหกรรมอาหารสัตว์คาดการณ์ว่าจะผลิตอาหารสัตว์เพื่อใช้ในประเทศและส่งออก 16 ล้านตัน ต้องการพืชคาร์โบไฮเดรตเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ 50-55% ของจำนวนทั้งหมดหรือประมาณ 7-8 ล้านตัน ดังนั้น พืชคาร์โบไฮเดรตในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน 10.53 ล้านตัน จึงเพียงพอต่อการใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ แต่ในปี 2558 ที่ผ่านมา มีการนำเข้าข้าวสาลีสูงถึง 3.467 ล้านตัน และในปี 2559 เดือน ม.ค.-ก.ค.มีการนำเข้า 1.918 ล้านตัน เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2558 ที่นำเข้าเพียง 1.707 ล้านตัน นำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 12%

“เรื่องนี้ไม่เป็นธรรมมากกับสังคมไทยโดยรวม เพราะกระทรวงพาณิชย์เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการอาหารสัตว์ ทำให้ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์อ่อนลง จากการนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศ ซึ่งมีผลทำให้เกษตรกรไทยขาดทุน ท้ายที่สุดรัฐต้องเอางบประมาณที่เป็นภาษีประชาชนทุกคนมาชดเชยเยียวยาเกษตรกรนับหมื่นล้านบาท ทั้งที่คนได้เงินได้ประโยชน์คือ ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ที่เป็นคนรวยเพียงหยิบมือ แต่เกษตรกรล่มสลาย ทำไมรัฐไม่ปรับสมดุลการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้เหมาะสมทั้งปริมาณและช่วงเวลาที่นำเข้า” นายประพัฒน์กล่าว

ปีที่ผ่านมา นำเข้าข้าวสาลี 3.6 ล้านตันมากเกินไป ที่นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยบอกว่าจะนำเข้าไม่เกินปีที่ผ่านมา ถือว่ามากไป ส่วนจะจำกัดการนำเข้าแค่ไหน ต้องมาดูราคาข้าวโพด มันสำปะหลัง ถ้ามีผลกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศ ต้องชะลอการนำเข้าและอย่านำเข้าในช่วงจังหวะที่ผลผลิตในประเทศออกสู่ตลาด ตอนที่มีการนำเข้ามาจนล้นสต๊อก ไม่ต้องซื้อวัตถุดิบในประเทศก็พอใช้อยู่แล้ว ซึ่งไทยใช้วัตถุดิบพวกแป้งปีหนึ่งประมาณ 6 ล้านตันเท่านั้น ล่าสุดชาวไร่ข้าวโพดที่ลำปางขายได้ กก.ละ 3-4 บาทเท่านั้น

ส่วนประเด็นที่สภาเกษตรกรฯจะขอเจรจากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นั้น นายประพัฒน์กล่าวว่า รัฐมนตรีพาณิชย์ไม่เคยรับฟัง ทำหนังสือไปหาหลายครั้งก็ไม่ตอบกลับมา จนต้องทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีแทน แต่ถ้าท่านนายกรัฐมนตรีไม่ฟัง ก็สุดแล้วแต่เกษตรกร หมดหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติแล้ว สภาเกษตรกรฯไม่มีหน้าที่เอาม็อบไปเคลื่อนไหว เกษตรกรจะขับเคลื่อนเองก็แล้วแต่ ผมไม่มีหน้าที่แล้ว มีแต่เอาความเดือดร้อนของเกษตรกรมารวบรวมทำเอกสารเสนอไปยังรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง ถ้ารัฐบาลเอาไปแก้ไขก็ขอบคุณที่ทำประโยชน์แก่ประเทศโดยรวมถ้าไม่แก้ไข ก็จะบอกเกษตรกรว่า สภาเกษตรกรฯทำหน้าที่เต็มที่แล้ว

“คนรวยมีหยิบมือเดียว แต่คนล่มสลายล้มละลายมีหลายล้านครัวเรือน รัฐบาลต้องเอาเงินงบประมาณมาเยียวยา ถ้าเป็นรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ผมเชื่อมั่นว่า เกษตรกรปิดทำเนียบ ปิดกระทรวงพาณิชย์ ปิดศาลากลางไปแล้ว เพราะเดือดร้อนกันมากตอนนี้เกษตรกรอดทนอดกลั้นเพราะเราเชื่อว่านายกรัฐมนตรีคนนี้มีความจริงใจกับประเทศนี้ ยังไม่อยากสร้างภาระให้กับท่านนายกรัฐมนตรี แต่ในส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กลับไม่ฟังเราเลย ทำหนังสือไปหาหลายครั้ง กลับไม่แก้ไข ฟังแต่ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ที่เป็นกลุ่มทุนรายใหญ่ไม่กี่ราย ถือว่าท่านบริหารงานผิดพลาดอย่างร้ายแรง ควรที่จะปรับสมดุลการนำเข้าโดยเร็ว” นายประพัฒน์กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศหลายชนิด โดยสมาคมพืชไร่ชี้แจงว่า การที่ผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ได้นำเข้าวัตถุดิบข้าวสาลี ส่งผลกระทบต่อข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง เนื่องจากผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์หยุดรับซื้อผลผลิตจากผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ส่งผลกระทบต่อการรับซื้อผลผลิตของเกษตรกร ส่วนผู้ประกอบการค้ามันสำปะหลัง 4 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือและสมาคมแป้งมันสำปะหลังแจงว่า ส่งผลกระทบในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรภายในประเทศประมาณ 2 ล้านตัน/ปี ขณะที่ผู้ประกอบการค้าข้าวไทยแจ้งว่า ส่งผลกระทบต่อการใช้วัตถุดิบรำข้าว ส่งผลกระทบต่อราคาข้าวที่จะรับซื้อจากเกษตรกร

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

5 เดือนส่งออก “มัน” หด7.7% แย่งขาย-ไร้อำนาจต่อรอง

5 เดือนส่งออก “มัน” หด7.7% แย่งขาย-ไร้อำนาจต่อรอง

ส่งออกมันสำปะหลัง 5 เดือนหด 7.7% เอกชนโอดไม่มีกำลังต่อรองผู้นำเข้า จี้รัฐแก้ปมคุมสต๊อกมันเส้น-ล้อมคอกมันด้อยคุณภาพจากประเทศเพื่อนบ้านสวมรอยเป็นพิกัดมันอื่น ๆ

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ”รายงานว่า การส่งออกมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) ปี 2560 ปริมาณ 4,822,965 ตัน ลดลง 7.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่า 1,166 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 13.9%

นายบุญชัย ศรีชัยยงพานิช นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาวะมันเส้นมีจีนเป็นตลาดส่งออกเดียว ปัจจุบันจีนมีโรงงานขนาดใหญ่ ใช้มันเส้น 5 แสนตัน-1 ล้านตันเพียง 4-5 โรงงาน เทียบกับผู้ส่งออกไทยมีกว่า 20 ราย ที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายบังคับให้ผู้ส่งออกสต๊อกมันเส้น เพื่อได้รับสิทธิส่งออก ทั้งที่จีนไม่ได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนำเข้า จึงกลายเป็นผู้ส่งออกต้องแย่งกันขาย หลังจากได้รับการจัดสรร ทำให้ผู้ส่งออกพยายามลดต้นทุนการซื้อผู้ประกอบการลานมันต้องประสบภาวะขาดทุน เนื่องจากราคาดิ่งลง ทำให้ไม่สามารถซื้อหัวมันแข่งกับโรงแป้งได้ ลานมันในไทยทำงานน้อยลง

“หัวมันสำปะหลังที่ออกมาพร้อมๆ กันในระยะเวลาเดียวกันของทุกประเทศ ส่งผลให้เกิดภาวะหัวมันในไทยล้นโรงแป้ง โรงแป้งต้องลดราคา เพื่อระบายสินค้าในสต๊อกบ้าง ชะลอการรับซื้อหัวมันบ้าง ทำให้ผู้ส่งออกแป้งมันมีฐานะไม่แตกต่างจากผู้ส่งออกมันเส้น คือ ไม่มีกำลังต่อรองกับผู้ขาย”

ช่วงนี้เป็นฤดูฝน ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดไม่มาก ราคาหัวมันที่โรงแป้งนครราชสีมารับซื้อปรับขึ้นมา กก.ละ 1.80 บาท คาดว่าจากช่วงนี้ไปถึงฤดูกาลใหม่ ปี 2560/2561 (ต.ค. 2560-ก.ย. 2561) ราคาน่าจะดีกว่าปีก่อนที่เคยร่วงลงต่ำกว่า กก.ละ 1 บาท เพราะปีนี้เกษตรกรจะปลูกมันลดลง เนื่องจากเกษตรกรขาดทุน 3 ปี

“ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังลดลงอย่างโหดร้าย คือ ความต้องการใช้หัวมัน เพื่อทำผลิตภัณฑ์มันเส้น แป้ง และเอทานอล คิดเป็นปริมาณ 40 ล้านตัน มากกว่าที่เกษตรกรไทยผลิตได้ 30 ล้านตัน มีผลต่างเกือบ 10 ล้านตัน หากตามกลไกตลาดควรต้องดีขึ้น แต่ยังมีหัวมันลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเขตอีสานตอนล่าง สำแดงภายใต้พิกัดอื่น ๆ ทำให้ข้อมูลกรมศุลกากรมีน้อยเพียง 2 หรือ 4 ล้านตัน และยังหลุดรอดจากการตรวจสอบคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานของสินค้าไทยด้วย”

หากรัฐไม่ดูแลปล่อยให้มีการลักลอบนำเข้ามันคุณภาพต่ำ และยังคงนโยบายการส่งออกมันเส้นเหมือนเดิม ไม่เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลคุณภาพส่งออกให้เป็นไปตามระเบียบ ปล่อยให้ผู้ส่งออกทุกผลิตภัณฑ์แข่งกันขาย เชื่อว่าเหตุการณ์คงไม่แตกต่างกับ 2-3 ฤดูกาลที่ผ่านมา แม้รัฐบาลจะพยายามช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการเพาะปลูก ส่งเสริมให้เกษตรกรมีทางเลือกผลิตมันเส้น เพื่อได้มูลค่าเพิ่ม แต่ถ้ารัฐไม่บริหารให้อุตสาหกรรมมันเส้นและแป้งมันแข่งขันกันซื้อหัวมันจากเกษตรกรไทยคงต้องรับเคราะห์กรรมต่อไป

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ตัวแทนเกษตรกรมันโคราชยื่นหนังสือถึงนายกให้เร่งช่วยเหลือเกษตรกร

ตัวแทนเกษตรกรมันโคราชยื่นหนังสือถึงนายกให้เร่งช่วยเหลือเกษตรกร

เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 60 ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา นำโดย นายแสวง พานทอง และคณะ ได้เข้ายื่นหนังสือถึง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือเกษตรกร อันเนื่องจากราคามันสำปะหลังตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดป้ญหาขาดทุนสะสมมาอย่างต่อเนื่อง

โดยได้เสนอข้อเรียกร้องดังนี้

1. ขอให้รัฐบาลกำกับดูแล ออกมาตรการ ที่ทำให้ราคามันสำปะหลังให้สอดคล้องกับต้นทุน และสภาวะตลาด ไม่ให้กลไกตลาดบิดเบือน เกิดการเอาเปรียบพี่น้องเกษตรกรอย่างที่เป็นอยู่ กระทรวงพาณิชย์จึงควรประกาศราคาขั้นต่ำ ของสินค้ามันสำปะหลัง เป็นราคากลาง ทั้งหัวมันสด และราคาผลิตภัณฑ์ส่งออก เพื่อมิให้เกิดการขายตัดราคา จนกระทบมาถึงเกษตรกร

2. ให้ติดตาม ตรวจสอบผู้ค้าต่างชาติ นอมินี ที่เข้ามาค้าขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการเข้ามาใช้วิธีกดราคา หรือเสนอราคาซื้อขายต่ำๆ และให้ข้อมูลบิดเบือน เพื่อกดราคา ซึ่งตลอด 3 ปี ทำให้ตลาดเสียหายอย่างมาก ควรมีการตรวจสอบอย่างจริงจังเพื่อป้องเกษตรกรไทย

3. กำหนดอุตสาหกรรมเอทานอลเป็นอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตกรไทย รัฐจึงควรส่งเสริม และควรกำหนดให้ใช้ว้ตถุดิบมันสำปะหลังในประเทศเท่านั้น เพราะปัจจุบันมีการนำเข้ามันจากเพื่อนบ้านลาว เขมร มาใช้เป็นจำนวนมาก ยิ่งทำลายโอกาสของเกษตรกรไทย ยกเว้นหากขาดแคลนวัตถุดิบก็ขอให้อนุญาตนำเข้าเป็นกรณีไป (ตอนเริ่มนโยบายรัฐบาลส่งเสริม สนับสนุนเอทานอล ด้วยภาษีคนไทย บอกเป็นวาระแห่งชาติ เป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทย แต่พอตอนนี้กลับใช้วัตถุดิบต่างชาติ ถือว่าหลอกเกษตรกรไทยหรือไม่)

P600621-02 P600621-03 P600621-04

ชงครม.ไฟเขียวงบ 616 ล้าน พาณิชย์เดินหน้า 14 โครงการอุ้มชาวไร่มัน

ชงครม.ไฟเขียวงบ 616 ล้าน พาณิชย์เดินหน้า 14 โครงการอุ้มชาวไร่มัน

พาณิชย์ เตรียมชง ครม. 14 มาตรการช่วยเหลือชาวไร่มันสำปะหลัง เล็งของบประมาณ 616 ล้านบาทบริหารจัดการผลผลิตมันสำปะหลังปี 60/61 พร้อมมาตรการเร่งด่วนดูดซัพพลายเข้าโรงงานเอทานอล 2 ล้านตัน-ดึงโรงแป้งช่วยซื้อหวังดึงราคาหัวมันสดไม่ให้ต่ำกว่า กก.ละ 1.60 บาท

แหล่งข่าวจากวงการมันสำปะหลัง เปิดเผยกับประชาชาติธุรกิจ ว่า ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ กระทรวงพาณิชย์เรียกประชุม 4 สมาคมมันสำปะหลัง และตัวแทนสมาพันธ์ชาวไร่มันสำปะหลัง เพื่อติดตามสถานการณ์ราคามันสำปะหลังในช่วงปลายฤดูการผลิตปี 2559/2560 พร้อมทั้งกำหนดมาตรการช่วยเหลือดูแลบริหารจัดการผลผลิตช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ และเตรียมความพร้อมสำหรับมันสำปะหลังฤดูการผลิตปี 2560/2561 ก่อนที่จะสรุปเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในเดือนนี้

P600620-02

โดยเบื้องต้นมาตรการบริหารจัดการมันสำปะหลังปี 2560/2561 ตามที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) เห็นชอบ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 ประกอบด้วยมาตรการระยะปานกลาง 14 มาตรการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต การสนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์รับซื้อและแปรรูปเป็นมันเส้นสะอาด สนับสนุนเครื่องสับมันเพื่อทำมันเส้นสะอาดให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์เพื่อเพิ่มมูลค่า รวมทั้งสนับสนุนเครื่องชั่งน้ำหนักให้ด่านที่มีการนำเข้ามัน และกำกับดูแลการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน คาดว่าจะใช้วงเงินในการดำเนินการทั้งหมด 616.234 ล้านบาทพร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงปลายฤดูการผลิตปี 2559/2560 ซึ่งก่อนหน้านี้นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้ประชุมกับ4 สมาคมมันสำปะหลัง และตัวแทนสมาพันธ์ชาวไร่มันสำปะหลัง ติดตามผลผลิตช่วงปลายฤดูการผลิตปี 2559/2560 คาดว่าจะมีผลผลิต 31 ล้านตันออกสู่ตลาดแล้วเกินกว่า 82% ทางชาวไร่แจ้งว่าสถานการณ์ราคามันสำปะหลังสด เปอร์เซ็นต์แป้ง 25% ปรับลดลงไปเหลือต่ำสุด กก.ละ 1.55-1.60 บาท ทางกรมจึงประสานให้โรงงานเอทานอลช่วยรับซื้อมันเส้นสับมือโดยตรงจากเกษตรกร 2 ล้านตัน ให้สูงกว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น กก.ละ 30 สตางค์ คาดว่าจะมีโรงงานเอทานอลเปิดเพิ่มอีก 5 แห่งในจังหวัดสุรินทร์ อุดรธานี อำนาจเจริญ สระแก้ว และสกลนคร พร้อมทั้งขอให้ทางโรงงานแป้งขยายระยะเวลาเดินเครื่องเพื่อรับซื้อมันสำปะหลังจากเกษตรกร โดยปกติโรงแป้งจะมีกำหนดปิดปรับปรุงช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งทางโรงแป้งยินดีรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบปัญหาการนำเข้าตามแนวชายแดน โดยกรมการค้าต่างประเทศได้จัดชุดลงพื้นที่ตามแนวชายแดน ส่วนกรมการค้าภายในกำกับดูแลการขนย้ายในพื้นที่อำเภอที่เพาะปลูกที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยในปี 2560 จับกุมแล้ว 20 ราย

สำหรับการส่งออกมันสำปะหลัง 4 เดือนแรก (มกราคม-เมษายน) 2560 มูลค่า 32,746.15 ล้านบาท ลดลง 15.14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกหลัก เช่น จีน 20,268.14 ล้านบาท ลดลง 11.57% สัดส่วน 61.89% ญี่ปุ่น 2,694.11 ล้านบาท ลดลง 7.91% สัดส่วน 8.23% อินโดนีเซีย 2,009.67 ล้านบาท ลดลง 54.89% สัดส่วน 6.14% ไต้หวัน 1,452.67 ล้านบาท ลดลง 15.08% สัดส่วน 4.44% และมาเลเซีย 1,341.14 ล้านบาท ลดลง 14.06% สัดส่วน 4.10% โดยราคาส่งออกมันเส้น ตันละ 155-158 เหรียญสหรัฐ ราคาแป้งมัน ตันละ 340 เหรียญสหรัฐ

โดยเบื้องต้นมาตรการบริหารจัดการมันสำปะหลังปี 2560/2561 ตามที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) เห็นชอบ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 ประกอบด้วยมาตรการระยะปานกลาง 14 มาตรการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต การสนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์รับซื้อและแปรรูปเป็นมันเส้นสะอาด สนับสนุนเครื่องสับมันเพื่อทำมันเส้นสะอาดให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์เพื่อเพิ่มมูลค่า รวมทั้งสนับสนุนเครื่องชั่งน้ำหนักให้ด่านที่มีการนำเข้ามัน และกำกับดูแลการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน คาดว่าจะใช้วงเงินในการดำเนินการทั้งหมด 616.234 ล้านบาทพร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงปลายฤดูการผลิตปี 2559/2560 ซึ่งก่อนหน้านี้นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้ประชุมกับ4 สมาคมมันสำปะหลัง และตัวแทนสมาพันธ์ชาวไร่มันสำปะหลัง ติดตามผลผลิตช่วงปลายฤดูการผลิตปี 2559/2560 คาดว่าจะมีผลผลิต 31 ล้านตันออกสู่ตลาดแล้วเกินกว่า 82% ทางชาวไร่แจ้งว่าสถานการณ์ราคามันสำปะหลังสด เปอร์เซ็นต์แป้ง 25% ปรับลดลงไปเหลือต่ำสุด กก.ละ 1.55-1.60 บาท ทางกรมจึงประสานให้โรงงานเอทานอลช่วยรับซื้อมันเส้นสับมือโดยตรงจากเกษตรกร 2 ล้านตัน ให้สูงกว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น กก.ละ 30 สตางค์ คาดว่าจะมีโรงงานเอทานอลเปิดเพิ่มอีก 5 แห่งในจังหวัดสุรินทร์ อุดรธานี อำนาจเจริญ สระแก้ว และสกลนคร พร้อมทั้งขอให้ทางโรงงานแป้งขยายระยะเวลาเดินเครื่องเพื่อรับซื้อมันสำปะหลังจากเกษตรกร โดยปกติโรงแป้งจะมีกำหนดปิดปรับปรุงช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งทางโรงแป้งยินดีรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบปัญหาการนำเข้าตามแนวชายแดน โดยกรมการค้าต่างประเทศได้จัดชุดลงพื้นที่ตามแนวชายแดน ส่วนกรมการค้าภายในกำกับดูแลการขนย้ายในพื้นที่อำเภอที่เพาะปลูกที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยในปี 2560 จับกุมแล้ว 20 ราย

สำหรับการส่งออกมันสำปะหลัง 4 เดือนแรก (มกราคม-เมษายน) 2560 มูลค่า 32,746.15 ล้านบาท ลดลง 15.14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกหลัก เช่น จีน 20,268.14 ล้านบาท ลดลง 11.57% สัดส่วน 61.89% ญี่ปุ่น 2,694.11 ล้านบาท ลดลง 7.91% สัดส่วน 8.23% อินโดนีเซีย 2,009.67 ล้านบาท ลดลง 54.89% สัดส่วน 6.14% ไต้หวัน 1,452.67 ล้านบาท ลดลง 15.08% สัดส่วน 4.44% และมาเลเซีย 1,341.14 ล้านบาท ลดลง 14.06% สัดส่วน 4.10% โดยราคาส่งออกมันเส้น ตันละ 155-158 เหรียญสหรัฐ ราคาแป้งมัน ตันละ 340 เหรียญสหรัฐ

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

USDA คาดการณ์ข้าวโพดจีนลดลง!!

USDA คาดการณ์ข้าวโพดจีนลดลง!!

United States Department of Agriculture (USDA) ได้คาดการณ์การเพราะปลูกข้าวโพด โดยดูจากตารางจะเห็นได้ว่า พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดของจีนลดลงจาก 38.12 ล้านเฮกตาร์ ของปี (2015/16) เป็น 36.76 ล้านเฮกตาร์ ในปี (2016/17) และคาดว่าจะลดลงเป็น 35 ล้านเฮกตาร์ ในปี (2017/18)
ผลผลิตลดลงเช่นกัน จาก 224.63 ล้านตัน ของปี (2015/16) เป็น 219.55 ล้านตัน ในปี (2016/17) และคาดว่าจะลดลงเป็น 215 ล้านตัน ในปี (2017/18)

พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดของโลก ปี (2016/17) เพิ่มขึ้นเป็น182.96 ล้านเฮกตาร์ จาก 178.04 ล้านเฮกตาร์ ในปี (2015/16) ส่วนในปี (2017/18) คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 180.56 ล้านเฮกตาร์
ผลผลิตของปี (2016/17) เพิ่มขึ้นเป็น 1,067.21 ล้านตัน จาก 968.29 ล้านตัน ในปี (2015/16) ส่วนในปี (2017/18) คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 1031.86 ล้านตัน

พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดของไทย ปี (2016/17) เพิ่มขึ้นเป็น 1.17 ล้านเฮกตาร์ จาก 1.09 ล้านเฮกตาร์ ในปี (2015/16) ส่วนในปี (2017/18) คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 1.10 ล้านเฮกตาร์
ผลผลิตของปี (2016/17) เพิ่มขึ้นเป็น 5.20 ล้านตัน จาก 4.70 ล้านตัน ในปี (2015/16) ส่วนในปี (2017/18) คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 4.90 ล้านตัน

P600612-02

ที่มา : United States Department of Agriculture
Foreign Agricultural Service
Circular Series WAP 06-17 June 2017

เกษตรกรโคราชอ่วม! ไร่มันสำปะหลังถูกน้ำท่วมกว่า 100 ไร่ ต้องเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตขายก่อนกำหนด

เกษตรกรโคราชอ่วม! ไร่มันสำปะหลังถูกน้ำท่วมกว่า 100 ไร่ ต้องเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตขายก่อนกำหนด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (30 พฤษภาคม 2560) เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังหลายสิบรายในพื้นที่บ้านหนองโสน ตำบลครบุรีใต้ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ต้องเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลังอย่างเร่งด่วน เนื่องจากฝนตกลงอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะนี้ ทำให้เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมขังไร่มันสำปะหลังกว่า 100 ไร่ มานานหลายวัน เกษตรกรจึงต้องเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะเกรงว่าหากปล่อยทิ้งไว้นานกว่านี้ ผลผลิตมันสำปะหลังจะเน่าเสีย ไม่สามารถนำไปขายได้

ด้านนางประมวลจิตร สระพิณครบุรี เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังบ้านหนองโสน ต.ครบุรีใต้ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา กล่าวว่า มันสำปะหลังที่ตนปลูกไว้ขณะนี้มีอายุเพียงแค่ 5-6 เดือนเท่านั้น และกำลังประสบปัญหาน้ำท่วมขังในไร่มันสำปะหลัง ตนและเพื่อนเกษตรกรอีกหลายรายจึงต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลังไปขายก่อนกำหนด ถึงแม้ว่าหากขายผลผลิตมันสำปะหลังตอนนี้จะได้ราคาต่ำมากก็ตาม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานกว่านี้ ผลผลิตมันสำปะหลังจะเน่าเสียหายทั้งหมด ทั้งนี้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังคาดการณ์ว่าจะยังคงมีฝนตกลงมาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องอีกแน่นอน

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

น้ำป่าไหลหลากท่วมตาพระยา นาข้าว มันสำปะหลังเสียหายกว่า 20,000 ไร่

น้ำป่าไหลหลากท่วมตาพระยา นาข้าว มันสำปะหลังเสียหายกว่า 20,000 ไร่

วันที่ 29 พฤษภาคม 2560 นายอารยันต์ ท่าใหญ่ นายอำเภอตาพระยา จ.สระแก้ว ได้ลงพื้นที่ บ้านโคกแจง ต.ทัพเสด็จ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เพื่อตรวจสอบความเสียหาย ของพืชผลทางการเกษตร ของเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลัน ที่เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกัน หลายวัน ทำให้เกิดน้ำป่าทะลักเข้าท่วมบ้านโคกแจง และบ้านใกล้เคียง กว่า 4 หมู่บ้าน พืชผลทางการเกษตรเสียหายกว่า 20,000 ไร่ บ่อปลาเสียหายกว่า 40 บ่อ และโรงเรียนบ้านโคกแจงน้ำได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ทางเจ้าหน้าที่ทหาร และหน่วยกู้ชีพ อบจ.สระแก้ว ได้นำเรือท้องแบน ขนส่งนักเรียนออกจากบริเวณโรงเรียน ส่งกลับบ้าน โดยน้ำท่วมขังสูงระดับเอว ทางโรงเรียนจึงต้องทำการปิดโรงเรียน ชั่วคราว จนกว่าน้ำในบริเวณจะลดลง และอยู่ในความปลอดภัย จึงจะทำการเปิดเรียนตามปกติ เพื่อความปลอดภัยของนักเรียนอีกด้วย

ทางด้านนายอารยันต์ ท่าใหญ่ นายอำเภอตาพระยา จ.สระแก้ว กล่าวว่า อำเภอตาพระยา ทุกปีจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในปีนี้ เกิดฝนตกติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2560 ทำให้เกิดน้ำสะสม และน้ำป่าไหลหลากมาอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ที่บ้านโคกแจง บ้านคลองน้ำใส บ้านทัพเสรี และบ้านคลองแผง หมู่บ้านที่ท่วมหนักที่สุด คือบ้านโคกแจง และขณะนี้ ทางอำเภอตาพระยา ได้แจ้งให้หน่วยเหนือทราบแล้วและขอประกาศเป็นเขตภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อให้การช่วยเหลือกับประชาชน ตามกฎหมายต่อไป

นายอารยันต์ ท่าใหญ่ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ น้ำทรงตัว หากฝนไม่ตกมาอีก คาดว่าพรุ่งนี้น้ำจะลดระดับลง ส่วนผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย เช่น มันสำปะหลัง ข้าว จะรายงานให้หน่วยเหนือรับทราบ เพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไป

ที่มา : มติชนออนไลน์

มันสำปะหลังราคาลดวูบ ‘พาณิชย์’ อ้อนโรงแป้ง โรงงานเอทานอล ช่วยรับซื้อ

มันสำปะหลังราคาลดวูบ ‘พาณิชย์’ อ้อนโรงแป้ง โรงงานเอทานอล ช่วยรับซื้อ

มันสำปะหลังราคาดิ่งเหลือโลละ 1.75 บาท ฝนตกชุก คุณภาพต่ำ ลานมันหยุดรับซื้อ โรงแป้งปิดปรังปรุง ทำเกษตรกรขายไม่ได้ ‘พาณิชย์’ อ้อนโรงแป้ง โรงงานเอทานอล ช่วยรับซื้อ

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้ ผลผลิตหัวมันสดของเกษตรกรที่ จ.นครราชสีมา ราคาลดลงมาอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 1.75 บาท ที่เชื้อแป้ง 25% เพราะช่วงนี้ฝนตกชุก ทำให้เปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งต่ำเหลือ 11-18% เท่านั้น ประกอบกับ ลานมันหยุดรับซื้อ เพราะไม่สามารถตากมันเพื่อทำมันเส้นได้ อีกทั้งโรงงานแป้งมันหลายแห่งปิดซ่อมบำรุง ส่งผลให้เกษตรกรแทบขายผลผลิตไม่ได้ และส่งผลให้ราคาตกต่ำ

อย่างไรก็ตาม กรมได้หาแนวทางแก้ไขโดยได้เชิญสมาคมผู้ผลิต/ผู้ค้ามันสำปะหลัง ตัวแทนเกษตรกร มาประชุมหารือ และได้ขอความร่วมมือโรงงานแป้งมัน และโรงงานเอทานอลให้รับซื้อมันจากเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง แม้คุณภาพจะต่ำกว่าที่ต้องการ ส่วนกรณีที่โรงแป้งทุกแห่งต้องปิดซ่อมบำรุงประจำปีในช่วงนี้ ได้ขอให้ทยอยปิดเพื่อให้เกษตรกรยังพอมีที่ขาย

“ในปีนี้ โรงงานเอทานอลหลายโรงกำลังปรับปรุง และจะเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งในอนาคตจะสามารถรองรับมันสำปะหลังได้เพิ่มขึ้น 2.5–3 ล้านตันหัวมันสด/ปี และโรงแป้งมันจะทะยอยเปิดเพิ่มอีก 5 แห่ง ในจังหวัดสุรินทร์ อุดรธานี อำนาจเจริญ สระแก้ว และสกลนคร ซึ่งรับมันได้เพิ่มอีก 1.8 ล้านตัน/ปี ส่งผลให้ความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาตลาดจีนในการส่งออกจะลดลง ในส่วนของเกษตรกรต้องพัฒนาเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และผลิตมันคุณภาพ โดยเฉพาะมันเส้นสะอาด ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดและขายได้ราคาดีกว่ามาก”

นอกจากนั้น คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง ได้เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการมันสำปะหลัง ปี 60/61 ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนสินเชื่อให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ รับซื้อและแปรรูปเป็นมันเส้นสะอาด สนับสนุนเครื่องสับมัน เพื่อทำมันเส้นสะอาดให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า รวมทั้งสนับสนุนเครื่องชั่งน้ำหนักให้ด่านที่มีการนำเข้ามัน และกำกับดูแลการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะเสนอ ครม.พิจารณาต่อไป

ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบ และกรมการค้าต่างประเทศ จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตามแนวชายแดน เพื่อกํากับดูแลให้มันสําปะหลังที่นําเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดด้วย โดยกรมการค้าภายใน จะกำกับดูแลการควบคุมการขนย้ายในพื้นที่อำเภอที่เพาะปลูก ที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และที่ผ่านมา ได้ตรวจพบผู้กระทำความผิด ดำเนินคดี รวมทั้งสิ้น 52 คดี และปีนี้จับกุมไปแล้ว 20 ราย

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์

สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สำรวจหาสาเหตุราคาตกต่ำ เพื่อนำเสนอให้กับทางรัฐบาล

สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สำรวจหาสาเหตุราคาตกต่ำ เพื่อนำเสนอให้กับทางรัฐบาล

ต้องให้ถึงมือ!! สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สำรวจหาสาเหตุราคาตกต่ำ เพื่อนำเสนอให้กับทางรัฐบาล-แก้ปัญหาให้กับเกษตรกร (มีคลิป)

วันนี้ ( 25 พ.ค. 60 ) นายบุญชัย ศรีชัยยงพานิช นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย และประธานคณะสำรวจภาวการณ์ผลิตและการค้ามันสำปะหลัง 4 สมาคม กล่าวว่า ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนคณะสำรวจได้ออกสำรวจ ประกอบด้วย 4 สมาคม ได้แก่ สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย และเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตร ร่วมกันออกสำรวจภาวะการค้า และการผลิตมันสำปะหลังของฤดูการผลิตปี 2559 / 2560 คาดว่าจะมี 31 ล้านตัน ได้ออกสำรวจว่า 31 ล้านตันจะมีใกล้เคียงขนาดไหน สิ่งที่สำรวจในครั้งนี้พบว่า เกษตรกรมีความเดือดร้อนขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะว่าราคาตกต่ำและรุนแรง บางพื้นที่ที่ไม่มีโรงงานแป้งมัน และลานมัน เกษตรกรขายมันสำปะหลังได้แค่ 1.05 บาท ไม่เกิน 1 บาทต่อกิโลกรัมก็มี ต้นทุนเกษตรกรไร่ละประมาณ 5,000 บาท แต่จะขุดได้ไร่ละประมาณ 2 – 3 ตัน ค่อนข้างที่จะลำบากมาก ๆ ที่ออกสำรวจตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ บางจังหวัดที่รุนแรงมาก ๆ เช่น จังหวัดกำแพงเพชร ได้ไร่ละ 1 ตันเท่านั้น สรุปว่าเกษตรกรเดือดร้อนมาก บางส่วนได้น้อยก็ไม่ขุดก็ปล่อยข้ามปีไป เกษตรกรก็ไม่มีรายได้ ก็เข้ากรุงเทพเพื่อหาเงิน หางานทำ ส่วนของจังหวัดอื่น ๆ ที่ออกมาสำรวจก็เจอภาวะในส่วนของราคาตกต่ำ ที่มีโรงงานแป้ง มีลานมันก็จะได้ราคาดีหน่อย ก็อยู่เกณฑ์ 1.30 – 1.40 บาท และก็ยังขาดทุนอยู่

นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย กล่าวต่อไปอีกว่า สาเหตุที่เกิดขึ้นมาหลัก ๆ อาจจะเกิดจากไม่มีคู่แข่งขันโรงงานแป้งและลานมัน ก็พยายามจะหาข้อมูลอยู่ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ตัวเลขของฤดูที่แล้วมีการใช้หัวมันผ่านมือผู้ประกอบการ ผลิตเส้น ผลิตแป้ง เพื่อที่จะใช้ภายในประเทศ ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อุตสาหกรรมเอทานอลทั้งหมด 40 ล้านตัน แต่ประเทศไทยผลิตได้ 30 ล้านตัน เพราะฉะนั้นกลไกของตลาดมันไม่ได้ทำงานครบถ้วนเท่าไหร่ ก็จะพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมว่ามันเกิดอะไรขึ้น จะได้เสนอรัฐบาลว่าที่ผ่านมา 2 ปีนั้น ความต้องการมีมากกว่ากำลังการผลิต แต่ราคาทำไมถึงตกต่ำ จนไม่มีใครที่จะสามารถเยียวยาได้ รัฐบาลก็มีโครงการเข้าไปช่วย เกษตรกรก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปช่วยได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรบางคนก็ท้อ ไม่ปลูกมัน ขณะที่ความต้องการยังมีอยู่มากกว่าที่เราผลิตได้ สิ่งที่น่าเสียดาย บางพื้นที่ปลูกอะไรไม่ได้ แต่ปลูกมันสำปะหลังได้ เกษตรกรปลูกมันลงไปแล้วก็ขาดทุนก็เป็นสิ่งที่ลำบาก

ทั้งนี้ หัวมันสำปะหลังที่ผ่านมือผู้ประกอบการไทยประมาณ 40 ล้านตัน แต่ผลิตได้ 30 ล้านตัน ตัวเลขก็ต่างกันอยู่ประมาณ 10 ล้านตัน ซึ่งตัวนี้ก็พยายามดูว่าผิดพลาดยังไง มันก็จะมีนำเข้ามาส่วนใหญ่เป็นของกัมพูชา และลาว ซึ่งเราไปตรวจสอบตัวเลขทางศุลกากรแล้ว ตัวเลขของกรมศุลกากรประมาณ 1-2 ล้านตัน ข้อแตกต่างอยู่ที่ 10 ล้านตัน ตัวเลขกรมศุลกากรอยู่ที่ 2 ล้านตัน ต่างกันอยู่ที่ 8 ล้านตัน การควบคุมของรัฐบาลได้สมบูรณ์ถึงจะมีส่วนต่างของ 8 ล้านตันเข้ามา คงไปรายงานกระทรวงพาณิชย์ หรือไม่ก็คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังแห่งชาติ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการ และการผลิต มันสำปะหลังต่อไป.นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย กล่าว

ภาพ/ข่าว อนุศักดิ์ แสนวิเศษ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.มุกดาหาร

หนุนเจรจาลาวปลุกค้าชายแดน เพิ่มเพดานสินค้านำเข้าจากไทย

หนุนเจรจาลาวปลุกค้าชายแดน เพิ่มเพดานสินค้านำเข้าจากไทย

สภาหอการค้าฯ ชง “สมคิด” เจรจาลาว ปลุกการค้าชายแดน-ท่องเที่ยว จี้คมนาคมเพิ่ม 3 เส้นทางเชื่อมลาว-เวียดนาม เปิดเสรีนำเข้าข้าวโพด-มัน หนุนร่วมพัฒนาเขต ศก.พิเศษ เพิ่มเพดานสินค้านำเข้าจากไทย

แหล่งข่าวจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนไทย นำโดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ค. 2560 นอกจากจะมีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านการค้า การลงทุนระหว่าง 2 ประเทศแล้ว สภาหอการค้าฯได้เสนอให้มีการเจรจาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าชายแดน การส่งเสริมการท่องเที่ยวรวมทั้งหาทางแก้ปัญหาอุปสรรคด้านการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับ สปป.ลาวเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุนระหว่างกันเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวเป็นการสานต่อความร่วมมือของทั้ง2 ประเทศ หลังก่อนหน้านี้ตัวแทนภาครัฐและเอกชนไทยได้ประชุมหารือติดตามสถานการณ์การค้าชายแดนระหว่างไทยกับ สปป.ลาว และตัวแทนภาคเอกชนไทยนำโดย นายอาสา สารสิน ได้นำคณะไปประชุม Lao-Thai Business Forum ร่วมกับภาคเอกชนลาว ที่ สปป.ลาว ช่วงกลางเดือน ม.ค. 2560 ที่ผ่านมา พบว่าปัจจุบันการค้าการลงทุนระหว่างเอกชนไทยกับเอกชนลาวยังมีปัญหาอุปสรรคหลายด้าน จึงเสนอขอให้ภาครัฐเร่งแก้ไขเพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่าง 2 ฝ่ายมากขึ้น

เพิ่มเส้นทางการค้า-ท่องเที่ยว

ข้อเสนอของเอกชนไทยโดยสภาหอการค้าฯ มีทั้งเรื่องการพัฒนาเส้นทางคมนาคม และการแก้ปัญหาการค้าชายแดนที่เป็นอุปสรรคทั้งของฝ่ายไทยและ สปป.ลาวอาทิ เสนอรัฐบาลไทยผ่านกระทรวงคมนาคม ขยายเส้นทางเศรษฐกิจเพิ่ม 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.เส้นทางคู่ขนานPara North-South บ่อเต็น-อุดมชัย-หลวงพระบาง-ไชยบุรี-แก่นเท้า-ท่าลี่-เลย-เพชรบูรณ์-สระบุรี-กรุงเทพฯ เชื่อมเส้นทาง R3A ทางฝั่งไทย ที่ด่านผาแก้ว และด่านภูดู่ จ.อุตรดิตถ์

2.เพิ่มเส้นทาง East West Economic Corridor จากกาฬสินธุ์-สกลนคร-นครพนม ผ่านสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 ที่คำม่วน ไปถนนหมายเลข 12 ผ่านด่านนาพาว ด่านจาลอ ในเวียดนาม ไปเชื่อมถนนหมายเลข 1 ที่ฮาติง เวียดนาม 3.คู่ขนาน Para East West Economic Corridor จากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ-อุบลราชธานี ผ่านช่องเม็ก วันเตา สปป.ลาว-จำปาสัก-อัตตะปือ-คอนทุม ในเวียดนาม

ขอนำเข้าข้าวโพด-มันสำปะหลัง

ขอให้ทางการไทยอนุญาตให้นำเข้าสินค้าเกษตรบางรายการอย่างข้าวเหนียวข้าวโพด มันสำปะหลัง จาก สปป.ลาว โดยเปิดให้สามารถขายในประเทศไทยได้อย่างเป็นทางการ จากปัจจุบันมีการลักลอบนำเข้าสินค้าดังกล่าวผ่านตามแนวชายแดน และให้ยกฐานะจุดผ่อนปรน ด่านบ้านฮวก จ.พะเยา ด่านปางมอน เมืองเชียงฮ่อน แขวงไชยบุรี สปป.ลาว ให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรเพื่อสนับสนุนการค้าและการท่องเที่ยว ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายไทยและ สปป.ลาว อยู่ระหว่างการพิจารณา ขณะที่การขอนำเข้าข้าวเหนียว ปัจจุบันติดข้อกฎหมายไม่สามารถนำเข้าได้ ในทางปฏิบัติต้องเสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาทบทวน

ส่วนการนำเข้าข้าวโพด แม้สามารถนำเข้าได้ตามพันธกรณีความตกลงองค์การค้าโลก (WTO) แต่อัตราภาษีอยู่ในระดับที่สูง

เพิ่มเพดาน VAT เป็น 200 US

การแก้ปัญหากรณี สปป.ลาว จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 10 % สำหรับการนำเข้าสินค้าจากฝั่งไทย ในส่วนของสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าเกินกว่า 50 เหรียญสหรัฐขึ้นไป หรือประมาณ 1,500 บาท เอกชนไทยขอให้รัฐบาลไทยเจรจาขอผ่อนปรนกับรัฐบาล สปป.ลาว โดยขอให้ขยายเพดานการจัดเก็บภาษีดังกล่าว โดยเพิ่มวงเงินจากเกินกว่า 50 เหรียญสหรัฐขึ้นไป เป็นเกินกว่า 200 เหรียญสหรัฐ หรือกว่า 6,000 บาทขึ้นไป ซึ่งจากการหารือร่วมกันระหว่างเอกชนไทยกับเอกชนลาวได้ข้อสรุปว่า เอกชนลาวจะช่วยผลักดันเรื่องนี้อีกทางหนึ่ง และให้เปิดจุดบริการคืน VAT สำหรับประชาชน และนักท่องเที่ยวไทยและลาวบริเวณด่านชายแดน

ร่วมพัฒนาเขต ศก.พิเศษ

นอกจากนี้เพื่อความสะดวกทางการค้า ขอให้สถาบันการเงินไทยตามด่านชายแดนรับแลกเปลี่ยนเงินสกุลกีบ กับลดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินระหว่างกัน ลาวขอให้ผู้ประกอบการไทยที่ส่งสินค้าไปขาย สปป.ลาว ปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์โดยให้ติดฉลากสินค้าเป็นภาษาลาว ให้ควบคุมไม่ให้นำสินค้าหมดอายุเข้าไปขายใน สปป.ลาว การร่วมกันศึกษาแนวทางพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการค้า การเงิน และอุตสาหกรรม หรือ Joint Border Special Economic Zones เชียงราย-แขวงบ่อแก้ว, เขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย-ท่านาแล้ง เวียงจันทน์, นครพนม-ท่าแขก, มุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต และช่องเม็ก-วังเตา

การร่วมกันศึกษาและพัฒนาธุรกิจอีคอมเมิร์ซและการค้าชายแดน การรณรงค์ให้นักธุรกิจชายแดนทั้งไทยและลาวนำเอกสาร Form D มาใช้เพื่อลดต้นทุนในการนำเข้าและส่งออก การขยายเวลาปิดด่านหนองคาย มุกดาหาร และนครพนม จากปัจจุบัน 22.00 น. เป็น 24.00 น. ฯลฯ

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์